เมนู

พึงถอนจีวรของคนแล้ว ถือเอาจีวรของภิกษุหนุ่มด้วยวิสาสะ พึงเก็บไว้.
ถ้าพระเถระระลึกไม่ได้ แต่ภิกษุหนุ่มระลึกได้ ภิกษุหนุ่มพึงถอนจีวรของ
คน แล้วถือเอาจีวรของพระเถระด้วยวิสาสะแล้วไปเรียนว่า ท่านขอรับ
ท่านจงอธิษฐานจีวรของท่านเสียแล้วใช้สอยเถิด. จีวรของตน เธอก็พึง
อธิษฐาน. แม้ด้วยความระลึกได้ของภิกษุรูปหนึ่งอย่างนี้ ก็ย่อมพ้นอาบัติ
ได้แล. คำที่เหลือมีอรรถอันตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น ในปฐมกฐินสิกขาบทเป็นอกิริยา
คือไม่อธิษฐานและไม่วิกัป ในสิกขาบทนี้เป็นอกิริยา คือไม่ปัจจุทธรณ์
(ไม่ถอน) อันนี้เท่านั้นเป็นความแปลกกัน. คำที่เหลือในฐานะทั้งหมด
มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
พรรณนาอุทโทสิตสิกขาบท จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 3
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[32] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
อกาลจีวรเกิดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เธอจะทำจีวร* ก็ไม่พอ จึงเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำ
ตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นเธอเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จ
* ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง